การงานอดีต จนถึง ปัจจุบัน ของ พูนพิศ_อมาตยกุล

  • ปัจจุบันเป็นอาจารย์สอนประจำหลักสูตรปริญญาเอก สาขาดนตรีวิทยา วิทยาลัยดุริยางค์ศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
  • เป็นคณะกรรมการ และ เลขานุการ ประจำมูลนิธิราชสุดา
  • เป็นข้าราชการบำนาญ และ เป็นที่ปรึกษาวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ได้รับตำแหน่ง ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ระดับ 10 อดีตผู้อำนวยการวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อดีตผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อดีตหัวหน้าภาควิชา โสต ศอ นาสิก คณะแพทยศาสตร์ รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ในปีพุทธศักราช 2522 - 2529
  • เป็นประธานคณะอนุกรรมการเผยแพร่ความรู้ และผลงานทางวิชาการผ่านสื่อมวลชน มหาวิทยาลัยมหิดล ในปีพุทธศักราช 2527 - 2531
  • ประธานคณะอนุกรรมการ จัดงานประกวดดนตรีไทย"ฆ้องทองคำครั้งที่ 2"
  • เป็นคณะกรรมการจัดงานมหกรรมเดี่ยวเพลงไทยชัยมงคล ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ฉลองพระชันษา ครบ 30 พรรษา จัดโดยมหาวิทยาลัยมหิดล โรงละครแห่งชาติ
  • เป็นคณะกรรมการจัดงานประชันดนตรีไทยหน้าพระที่นั่ง มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
  • เป็นคณะกรรมการจัดการงานเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเรือนไทย ณ.มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และ การทรงสักวากลอนสด เรื่องสังข์ทองตอนเลือกคู่ (ทรงสักวาครั้งแรก)
  • เป็นประธานคณะอนุกรรมการ ประกวดขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์ ณ.มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
  • เป็นกรรมการพิจารณาผลงานเพื่อขอเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ในปี 2542 - ปัจจุบัน
  • เป็นกรรมการบริหารประเภทผู้ทรงคุณวุฒิสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยมหิดล ในปีพุทธศักราช 2539
  • เป็นที่ปรึกษาคณะทำงานศึกษา เรื่อง วิชาเลือกเสรีสำหรับหลักสูตรปริญญาตรี ในปีพุทธศักราช 2539 (คำสั่ง มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ ๕๒๔/๒๕๓๙ วันที่ ๒๐ ก.พ.๒๕๓๙)
  • เป็นคณะกรรมการจัดทำปทานุกรมศัพท์เฉพาะสาขาการศึกษาพิเศษของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • เป็นกรรมการอำนวยการ การจัดการศึกษาพิเศษ กระทรวงศึกษาธิการ (คำสั่ง กระทรวงศึกษาธิการ สป ๒๙๖/๒๕๓๙ วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๓๙)
  • เป็นอนุกรรมการทำงานจัดทำรายละเอียดโครงการสร้างสื่อเพื่อการเรียนรู้ของเด็กพิการของ ทบวงมหาวิทยาลัย ในปีพุทธศักราช 2536 (คำสั่ง คณะกรรมการทบวงมหาวิทยาลัย ที่ ๔๓/๒๕๓๖
  • เป็นกรรมการพิจารณาขอเปิดดำเนินการหลักสูตร และการรับรองมาตรฐานการศึกษา ของ สถาบันอุดม ศึกษาเอกชน สาขาวิชาวิจิตรศิลป์ประยุกต์ และดุริยศิลป์ ทบวงมหาวิทยาลัย ในปีพุทธศักราช 2539 – 2549 (คำสั่ง ทบวงที่ ๔๑/๒๕๓๙ วันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๙)
  • เป็นคณะอนุกรรมการสร้างเกณฑ์มาตรฐานสาขาวิชาดนตรีไทย ทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ ในปีพุทธศักราช 2532 - 2541
  • เป็นอนุคณะกรรมการฝ่ายคัดเลือกเพลงลูกทุ่ง ประจำงานคอนเสิร์ตกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ของคุณเจนภพ จบกระบวนวรรณ และ กระทรวงวัฒนธรรม ในปีพุทธศักราช 2532 - 2534
  • เป็นกรรมการส่งเสริมและประสานงาน ดนตรีไทยอุดมศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย ในปีพุทธศักราช 2530 - 2542
  • เป็นอนุกรรมการจัดทำเกณฑ์ประเมินการบรรเลงเครื่องดนตรีไทยทบวงมหาวิทยาลัย ในปีพุทธศักราช 2537
  • เป็นกรรมการพิจารณาผลงานวิชาการ ระดับรองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ในปีพุทธศักราช 2540 - ปัจจุบัน
  • เป็นกรรมการพิจารณาผลงานวิชาการข้าราชการครู กรมการฝึกหัดครู
  • เป็นคณะกรรมการสถาบันไทยคดีศึกษา ในปีพุทธศักราช 2534 - 2540
  • เป็นกรรมการสภาวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในปีพุทธศักราช 2546 - ปัจจุบัน
  • เป็นหัวหน้าหลักสูตร ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิตสาขางานบริการคนพิการ (ผู้ก่อตั้งครั้งแรกในประเทศไทย) และ เป็นผู้อำนวยการ วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล ในปีพุทธศักราช ในปีพุทธศักราช 2536 - 2540
  • เป็นผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมฯ มหาวิทยาลัยมหิดล ในปีพุทธศักราช 2531 - 2536
  • เป็นหัวหน้าหลักสูตร ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวัฒนธรรมศึกษา(ดนตรีชาติพันธุ์) (ผู้ก่อตั้งครั้งแรกในประเทศไทย) และ ยังเป็นหัวหน้าหลักสูตร ป.เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์ สาขาความผิดปกติของการสื่อความหมาย ภาควิชาโสตฯ คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี (ผู้ก่อตั้งครั้งแรกในประเทศไทย) อาจารย์ ภาควิชาโสต ศอ นาสิก ลาริงซ์ คณะแพทยศาสตร์ รามาธิบดี ในปีพุทธศักราช 2512 - 2531

คุณพูนพิศชำนาญทางด้านสาขาวิชาโสต การสือสารดวยการพูดและการฟง และงานเกี่ยวกับคนพิการทุกประเภท ศึกษาดนตรีดวยตนเองตลอดชีวิต เปนนักเขียน เนนหนักในเรื่องประวัติศาสตร์ดนตรีทั้งเรื่องของไทย ฝรั่งและของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคพื้นเอเชียอาคเณย์ เปนศาสตราจารยทางดนตรีคนแรกและคนเดียวขอมหาวิทยาลัยมหิดล ปจจุบันเปนขาราชการบำนาญ เปนอาจารยพิเศษสอนในระดับปริญญาเอก สาขาวิชาดนตรีวิทยา (Musicology) ทีวิทยาลัยดุริยางคศิลป มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ศาลายา ไดรับเชิญไปสอนและบรรยายในตางประเทศเปนประจำ

มีประสบการณและผลงานทางวิชาการ เขียนหนังสือ บทความวิชาการ งานผลิตสือดนตรีทั้งรายการวิทยุและโทรทัศนตลอดเวลาทีผ่านมากวา 40 ปมีงานจำนวนมากทีสามารถใชอางอิงทางวิชาการได